แนะนำแนวทางในการแก้ปัญหา สำหรับบ้านที่ใช้หลังคาเมทัลชีท ซึ่งโดยหลักแล้วจะเน้นเรื่องการติดตั้งฉนวนซึ่งนอกจากจะช่วยลดเสียงแล้ว ยังช่วยกันความร้อนได้ด้วย

สำหรับเจ้าของบ้านที่อยากเลือกใช้หลังคาเมทัลชีท แต่ก็กลัวเสียงดังตอนฝนตกนั้น ความจริงแล้วมีวิธีที่ช่วยลดปัญหานี้ได้ ทั้งนี้ เมทัลชีท (Metal Sheet) นับเป็นหนึ่งในวัสดุที่น่าใช้สำหรับหลังบ้านโมเดิร์น ด้วยคุณสมบัติดีๆ หลายอย่าง ทั้งน้ำหนักเบา ประหยัดโครงสร้าง ติดตั้งง่าย และด้วยความที่หลังคาเมทัลชีท มีลักษณะเป็นแผ่นเหล็กรีดยาวต่อเนื่องเป็นม้วน สั่งตัดตามความยาวที่ต้องการได้ ทำให้รอยต่อน้อย ปัญหารั่วซึมก็น้อยตาม ตอบโจทย์หลังคาแบน องศาน้อยๆ ของบ้านสไตล์โมเดิร์นได้

ในทางกลับกัน เมทัลชีทเองก็เป็นวัสดุที่ขึ้นชื่อเรื่องเวลาฝนตกจะมีเสียงดังป๊องแป๊งรบกวนโสตประสาท ทำนองเดียวกับหลังคาสังกะสี ดังนั้น ใครที่คิดจะเลือกใช้ ก็ต้องหันมาศึกษาวิธีลดปัญหาหลังคาเมทัลชีทเสียงดังตอนฝนตกด้วย

หากจะบอกว่า ความบางของแผ่นหลังคาเมทัลชีทเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดเสียงดัง ก็คงไม่ผิดนัก เพราะเมื่อฝนตกกระทบ แผ่นเหล็กบางๆ จะสั่นสะเทือนมาก เสียงก็เลยดังมากตาม ดังนั้นถ้าคิดตามหลักง่ายๆ หากเราเพิ่มความหนาให้หลังคาเมทัลชีท เสียงก็ควรจะดังน้อยลง ยิ่งถ้าวัสดุที่มาเพิ่มความหนานั้นมีคุณสมบัติกันเสียงได้ด้วยยิ่งดี เลยเป็นที่มาของการติดฉนวนเข้ากับแผ่นหลังคาเมทัลชีท ช่วยลดทั้งเสียงและความร้อน ซึ่งมีแนวทางให้เลือกดังนี้

ลดเสียงดังหลังคาเมทัลชีท ด้วยฉนวนโฟมพ่น PU

โดยนำฉนวนโฟม PU มาพ่นใต้แผ่นหลังคาเมทัลชีทตามความหนาที่ต้องการ (ยิ่งหนายิ่งกันเสียงกันร้อนได้มาก) แล้วทาสีทับ หรือติดฝ้าเพดานบังไว้เพื่อความเรียบร้อยสวยงาม

ลดเสียงดังง่ายๆ ใช้หลังคาเมทัลชีทบุฉนวนโฟมสำเร็จรูป

เป็นอีกแนวทางที่เน้นความสะดวก โดยเลือกใช้แผ่นหลังคาเมทัลชีทที่มีฉนวนโฟมติดตั้งสำเร็จรูปในตัวพร้อมบริการติดตั้ง อย่างระบบหลังคา SCG Flat Roof System เป็นแผ่นหลังคาเมทัลชีท ขนาดหน้ากว้าง 81.4 ซม. ความยาวเลือกได้ที่ 1.2 ม. และ 3.6 ม.ใต้แผ่นเมทัลชีทจะมีฉนวน Polystyrene Foam ผสมสารกันไฟ โดยฉนวนนี้จะทำหน้าที่ป้องกันทั้งเสียงและความร้อนในเวลาเดียวกัน

ลดเสียงดังหลังคาเมทัลชีท ด้วยฉนวนฉนวนใยแก้ว

ใช้ฉนวนใยแก้วหนาประมาณ 5 ซม.วางบนแปแล้วยึดด้วยลวดกรงไก่ จากนั้นค่อยติดตั้งหลังคาเมทัลชีททับอีกที วิธีนี้ฉนวนใยแก้วจะแนบติดกับแผ่นหลังคาเมทีลชีท ช่วยลดเสียงดังจากการกระพือได้ด้วย สำหรับฉนวนใยแก้วของ เอสซีจี จะมีให้เลือกทั้งฉนวนใยแก้วเปลือยแบบแผ่น (รุ่น UB-G) และแบบม้วน (รุ่น UBB-G) ฉนวนใยแก้วติดฟอยล์ 1 ด้าน (รุ่น FSO-G) ฉนวนใยแก้วติดฟอยล์ 2 ด้านแบบหุ้มขอบ (รุ่น SUPER COOL-G) และไม่หุ้มขอบ (รุ่น CRB-G)

อ่านกันมาถึงตรงนี้ก็ต้องขอบอกตามตรงว่า แต่ละวิธีที่เล่าไปอาจช่วยลดเสียงดังได้มากน้อยต่างกันก็จริง แต่ทั้งหมดนี้ยังไม่สามารถขจัดปัญหาหลังคาเมทัลชีทเสียงดังตอนฝนตกได้ถึงขั้น “เงียบสนิท” แนะนำให้ตัดสินใจเลือกวิธีที่สอดคล้องกับรูปแบบและงบประมาณก่อนจะลงมือสร้างบ้าน

ส่วนบ้านใครที่ทุกวันนี้กำลังเผชิญปัญหาหลังคาเมทัลชีทเสียงดังตอนฝนตกอยู่ ครั้นจะรื้อโครงหลังคาเพื่อติดตั้งฉนวนก็อาจยุ่งยากไป แนะนำให้อาศัยช่องว่างระหว่างช่วงจันทันทำระบบฝ้าเพดานกั้นเสียงติดไว้ใต้แป วิธีการคือ ใช้แผ่นฝ้าไฟเบอร์ซีเมนต์หรือยิปซัม 2 แผ่นประกบกันแบบแซนด์วิช โดยมีฉนวนใยแก้วอย่าง วัสดุอะคูสติก เอสซีจี รุ่น Cylence Zoundblock (หนา 5 ซม. หรือ 10 ซม.) สอดไส้ตรงกลาง ก็จะช่วยลดเสียงดังจากหลังคาเมทัลชีทขณะฝนตกได้บ้าง และเพื่อความเรียบร้อยควรติดตั้งเชิงชายปิดขอบหลังคาด้วย

ขอบคุณที่มา : https://scghome.com/living-ideas/articles/หลังคาเมทัลชีทกลัวฝนตกเสียงดัง-ทำอย่างไรดี

ในปัจุบันนี้ได้มีการออกแบบแบบบ้านทรงโมเดิล มากขึ้นส่งผลให้มีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบหลังคามากขึ้นด้วย จริงๆ แล้วนอกจากทรงหลังคาแบบโมเดิลแล้ว หลังคาทรงจั่วหรือปั่นหยาก็สามารถ มุงด้วยแผ่นเมทัลชีทได้นะครับ

แล้วหลังคาเมทัลชีทมันคืออะไร

เอาตรงๆง่ายๆหลังคาเมทัลชีทก็คือ แผ่นเหล็กที่เอามารีดและทำเป็นลอน ดังรูป ซึ่งจริงๆแล้วแผ่นเมทัลชีท ทำได้หลายอย่างนะครับ ทำรั้ว ทำผนัง ทำหลังคา ได้หมด

หลังคาเมทัลชีทมีอะไรดี

การที่นำเมทัฃชีทมาทำเป็นหลังคานั้น มีข้อดีที่สำคัญมากๆๆเลยนะครับคือ

  1. ป้องกันปัญหาการรั่วซึมของหลังคา : เพราะอะไรนั่นหรือ ก็คือเมทัลชีทสามารถผลิตได้แผ่นที่ยาวแบบไม่มีรอยต่อ เมื่อไม่มีรอยต่อก็จะไม่มีการรั่วซึมเช่นกัน
  2. ความรวดเร็วในการทำงาน : เนื่องจากเมทัลชีทมาเป็นแผ่นยาวและทำการติดตั้งลักษณะเดียวกับ หลังคากระเบื้องลอนคู่ จึงมีความรวดเร็วมากในการทำงาน
  3. เกิดความเสียหายกับตัววัสดุน้อยมาก : เพราะเมทัลชีทที่นำมามุงหลังคานั้น ไม่แตกง่ายเหมือนกระเบื้องหลังคาทั่วไป
  4. ความแข็งแรงทนทาน : ถ้าตามความเข้าใจของผู้เขียน แผ่นเมทัลชีท เป็นแผ่นโลหะที่เคลือบอลูซิงค์ ซึ่งจะแบ่งเกรดความแข็งแรงเป็นความหนาของแผ่นเมทัลชีทและความหนาของชั้นที่เคลือบอลูซิงค์ จากประสบการ์ของผู้เขียน แผ่นเมทัลชีท จะเสียหายก็ต่อเมื่อโดนสะเก็ด ลูกไฟ จากการ เชื่อมเหล็กจะทำให้แผ่นเมทัลชีทเสียหายได้
  5. ฝนตกจะเสียงดังไหม : เคยมีการพูดถึงแผ่นเมทัลชีทว่ามันก็เป็นแผ่นสังกะสีนั่นเอง เวลาฝนตกเนี้ยเสียงจะดังมากจนอยู่ไม่ได้ แต่แผ่นเมทัลชีทจะมีการฉีดโฟมมาด้วยหรือจะมีแผ่นโฟมติดมาด้วยเพื่อลดเสียงและป้องกันความร้อนอีกชั้นหนึ่ง
ราคา !!!

สำหรับราคาของแผ่น เมทัลชีท จะมีหลายแบบนะครับ ขึ้นอยู่กับความยาวการผลิต สีของแผ่น ความหนาของแผ่น ความหนาของชั้นเคลือบอลูซิ้ง ซึ่งเฉลี่ยตรามเมตรละ 450-750 บาท

สรุป

สำหรับผู้เขียนมีความคิดเห็นว่า แผ่นเมทัลชีทกำลังได้รับความนิยมกันอย่างแพร่หลาย ในหลายๆที่โดยเฉพาะต่างจังหวัด หากกำลังลังเลอยู่ แผ่นเมทัลชีทก็เป็นทางเลือกที่ดีสำหรือบ้านของท่านเหมือนกัน

ขอบคุณที่มา : http://www.nucifer.com/2015/02/07/matelsheet/

โดยทั่วไปการว่าจ้างผู้รับเหมาจะมีลักษณะงาน 2-3 ลักษณะด้วยกัน ทั้งให้ผู้รับเหมาเหมางานก่อสร้างทั้งหมด หรือผู้รับเหมาเหมาเฉพาะค่าแรง หรือรูปแบบผสมผสานที่เจ้าของบ้านสามารถคัดสรรวัสดุได้ด้วยตนเอง จ้างงานบางอย่างแยกเฉพาะส่วน แต่ภาพรวมของการก่อสร้างยังคงให้ผู้รับเหมาดูแล จะว่าจ้างแบบไหนขึ้นอยู่กับการตกลงตั้งแต่ครั้งแรกก่อนทำสัญญาว่าจ้างครับ

หากเป็นงานโครงสร้างหลักของบ้าน งานคอนกรีต งานประปา ระบบไฟฟ้า บ้านไอเดียแนะนำให้เจ้าของบ้านจ้างเหมา เพื่อให้ผู้รับเหมาสะดวกต่อการดำเนินงานและเจ้าของบ้านไม่ต้องเหนื่อยกับการหาซื้อวัสดุด้วยตนเอง แต่หากเป็นงานที่มองเห็นดีไซน์ชัด ๆ หรือมีผลกระทบกับการอยู่อาศัยโดยตรง เช่น งานสุขภัณฑ์ห้องน้ำ, กระเบื้องปูพื้น และงานหลังคา แนะนำให้เจ้าของบ้านมีบทบาทสำคัญในการเลือกใช้วัสดุ เพื่อให้ได้บ้านที่ตรงกับโจทย์ความต้องการ ทั้งด้านการใช้งานและความสวยงามของบ้าน เนื้อหานี้พาไปเรียนรู้การเลือกวัสดุหลังคาเมทัลชีท ซึ่งปัจจุบันมีให้เลือกหลายสเปค หลายเกรด สเปคแบบไหนที่เหมาะกับนำมาใช้ร่วมกับงานหลังคา ศึกษารายละเอียดก่อนคุยกับผู้รับเหมากันครับ

ก่อนอื่นต้องขอชี้แจงก่อนว่า เนื้อหานี้ไม่ได้มีเจตนาตำหนิผู้รับเหมานะครับ ผู้รับเหมาที่ดีจะมีความตั้งใจเลือกสรรวัสดุคุณภาพดีให้กับเจ้าของบ้าน ตามงบประมาณที่เจ้าของบ้านกำหนดไว้ แต่ต้องยอมรับความจริงที่ว่า ปัจจุบันมีผู้รับเหมามากหน้าหลายตาที่ไม่ได้มีเจตนาดีต่อเจ้าของบ้านนัก ก่อให้เกิดปัญหาการโกงสเปค การทิ้งงานกระทั่งเกิดเรื่องขึ้นโรง ขึ้นศาลกันบ่อยครั้ง ซึ่งการสร้างบ้านแต่ละหลังนับเป็นความใฝ่ฝันและความหวังครั้งใหญ่ของผู้เป็นเจ้าของบ้าน การศึกษาข้อมูลไว้เพื่อให้รู้จักวัสดุ รู้จักสเปคต่าง ๆ ก็เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นครับ

โดยเฉพาะงานหลังคาบ้าน เป็นงานที่หากติดตั้งเสร็จแล้ว เจ้าของบ้านแทบจะตรวจสอบอะไรไม่ได้เลย การเลือกสเปควัสดุให้ดีตั้งแต่ต้น หรือมีการติดตั้งโดยผู้ชำนาญ จะช่วยป้องกันปัญหาต่าง ๆ ภายหลังได้เป็นอย่างดี

1. ความหนาต่างกัน การใช้งานต่างกัน

โดยทั่วไปผู้รับเหมาจะนิยมเลือกวัสดุหลังคาเมทัลชีทที่มีความหนา 0.3 มิลลิเมตรให้กับเจ้าของบ้าน เป็นสเปคความหนาระดับพื้นฐานที่สามารถนำมาใช้ทำหลังคาบ้านได้ แต่หากเจ้าของบ้านต้องการคุณภาพในการใช้งาน ทั้งการลดเสียงรบกวนเมื่อฝนตก ลดความร้อนให้กับตัวบ้าน ความหนา 0.3 มิลลิเมตร จัดเป็นสเปคเริ่มต้นเท่านั้น ความหนาที่แนะนำให้เจ้าของบ้านเลือกใช้ ควรมีความหนา 0.4-0.47 มิลลิเมตร หรืออย่างน้อยที่สุด 0.35 มิลลิเมตร และที่ต้องระวังอย่าเลือกความหนาต่ำกว่า 0.3 มิลลิเมตรเด็ดขาด เพราะความหนาระดับนี้จะไม่เหมาะกับงานหลังคา แต่เป็นงานรั้วหรืองานอื่น ๆ ที่ไม่ได้ต้องการความทนทานมากนัก

2. หลังคาเมทัลชีททั่วไป ไม่ได้เคลือบสีให้นะ

หลังคาเมทัลชีททั่วไป สามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ แบบเคลือบสีและไม่เคลือบสี ซึ่งโดยส่วนมากเราจะได้ยินคำพูดจากช่างและผู้รับเหมาบ่อยครั้งว่า “สเปคเท่านี้ก็พอแล้วครับ ใช้งานเหมือนกัน” เป็นเพราะผู้รับเหมาส่วนใหญ่จะยึดมาตรฐานจากตนเองเป็นที่ตั้ง ยิ่งหากเป็นหลังคาเมทัลชีทที่ออกแบบลักษณะหลังคาแบนหรือหลังคาหมาแหงน ผู้อยู่อาศัยแทบจะมองไม่เห็นหลังคา ผู้รับเหมาจึงมักบอกให้เจ้าของบ้านเลือกแบบธรรมดา (ไม่เคลือบสี) ก็เพียงพอ

แต่รู้หรือไม่ว่า สีหลังคาเมทัลชีทไม่ได้มีดีแค่ความสวยงามเท่านั้นครับ หลังคาเมทัลชีทคุณภาพดีจะมีการเคลือบสีสะท้อนความร้อนมาให้ จึงช่วยลดปริมาณความร้อนเข้าสู่ตัวบ้านได้เป็นอย่างดีอีกด้วย

3. ออกแบบบ้านหลังคาองศาต่ำมาก ต้องใช้ระบบคลิปล็อค

โดยปกติหลังคาเมทัลชีทจะขึ้นชื่อเรื่องการทำหลังคาองศาต่ำครับ ค่านิยมของเมทัลชีททำให้บ้านไทยในยุคปัจจุบันนิยมหลังคาทรงโมเดิร์นมากขึ้น โดยความลาดชันที่รองรับสำหรับเมทัลชีททั่วไปจะรองรับต่ำสุดที่ 5 องศา แต่หากบ้านใครต้องการหลังคาต่ำเป็นพิเศษหรือออกแบบในลักษณะซ่อนหลังคาเมทัลชีท เพื่อให้รูปลักษณ์ภายนอกของบ้านดูเหมือนบ้านหลังคา Slab คอนกรีต จำเป็นต้องเลือกติดตั้งหลังคาด้วยระบบ Klip-lok แทนระบบสกรูทั่วไป

เหตุผลที่การติดตั้งด้วยระบบสกรูไม่สามารถรองรับกับหลังคาองศาต่ำกว่า 5 องศาได้ เนื่องด้วยองศาที่ต่ำเกินไปจะส่งผลให้การระบายน้ำฝนทำได้ช้าลง อาจก่อให้เกิดปัญหารั่วซึมบริเวณสกรูภายหลัง ส่วนระบบคลิปล็อคสามารถติดตั้งโดยไม่ต้องยิงสกรู ทำให้แผ่นหลังคาเรียบตลอดผืนจึงสามารถวางหลังคาลาดเอียงได้ต่ำสุดถึง 2 องศาครับ

อ่านมาถึงจุดนี้ผู้อ่านอาจจะสงสัยว่า องศาความชัน 2 องศากับ 5 องศาจะมีความแตกต่างกันอย่างไร หากขนาดหลังคามีความยาว 1-5 เมตรจะไม่ค่อยเห็นความแตกต่างมากครับ แต่โดยปกติหลังคาบ้านมีความยาวกว่า 10 เมตรขึ้นไป ความชันเริ่มต้นที่แตกต่างกันเพียง 3 องศา จะมีผลกับความยาวปลายหลังคาเป็นอย่างมาก ส่งผลให้หลังคาลาดเอียงมากเกินไปเป็นลักษณะหลังคาหมาแหงน แต่หากการออกแบบหลังคาบ้านเป็นรูปทรงทั่วไปอยู่แล้ว เช่น จั่ว ปั้นหยา หมาแหงน เจ้าของบ้านสามารถเลือกติดตั้งหลังคาเมทัลชีท ร่วมกับการติดตั้งหลังคาระบบสกรูทั่วไป ซึ่งจะประหยัดงบก่อสร้างได้มากกว่าระบบคลิปล็อค

4. ฉนวนกันร้อน ของมันต้องมี

ปฏิเสธไม่ได้ว่า หลังคาเมทัลชีทซึ่งผลิตจากวัสดุโลหะเป็นวัสดุที่นำความร้อนได้ดีกว่ากระเบื้องหลังคาทั่วไป แต่เมทัลชีทเองก็มีข้อดีหลาย ๆ ด้าน เช่น คลายความร้อนได้ไว, ติดตั้งรวดเร็ว, น้ำหนักเบาและรองรับการทำหลังคาได้หลากหลายรูปทรง ผู้ใช้งานจึงจำเป็นต้องเรียนรู้จุดเด่นและจุดด้อยของวัสดุนั้น ๆ การนำเมทัลชีทมาใช้งานจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องใช้ร่วมกับฉนวนกันร้อนเสมอ

ฉนวนกันร้อนที่ผู้รับเหมาเลือกมาให้ นิยมเลือกฉนวนโฟม PU แบบที่ติดตั้งสำเร็จมากับแผ่นเมทัลชีทแล้ว หรือที่นิยมเรียกกันว่าหลังคาแซนวิช ฉนวนดังกล่าวมีข้อดีด้านความสะดวกในการติดตั้ง กันเสียงและกันร้อนได้ (ขึ้นอยู่กับคุณภาพและความหนาของรุ่นนั้น ๆ ) แต่มีข้อเสียที่พบบ่อยคือ หากผู้รับเหมาเลือกหลังคาแซนวิชด้อยคุณภาพ เมื่อใช้งานไปสักระยะ แผ่น PU จะค่อย ๆ ลอกล่อนหลุดออกมา การเลือกวัสดุหลังคาที่มีคุณภาพจึงมีผลกับการใช้งานในระยะยาวครับ

นอกจากฉนวนกันร้อนชนิด PU แล้ว เจ้าของบ้านสามารถเลือกฉนวนรูปแบบอื่น ๆ เช่น วิธีการพ่นฉนวนโฟม PU ใต้แผ่นเมทัลชีท ซึ่งจะติดทนนานกว่าแบบแซนวิช หรือทำการติดตั้งฉนวนใยแก้วไว้บนฝ้าเพดาน โดยให้เลือกความหนาที่ 6 นิ้ว ฉนวนใยแก้วจะช่วยให้บ้านร้อนช้าลง และเป็นส่วนกันเสียงได้อีกชั้นครับ สิ่งที่ต้องระมัดระวังมากเป็นพิเศษ คือการติดตั้งหลังคาเมทัลชีทโดยไม่มีการป้องกันใด ๆ เลย จะส่งผลให้การอยู่อาศัยร้อนอบอ้าวอย่างแน่นอน

5. ใช้ช่างเฉพาะทางด้านงานหลังคาเมทัลชีทโดยเฉพาะ

หากเป็นผู้รับเหมาที่มีความชำนาญ มีประสบการณ์ในการสร้างบ้านมามาก เมื่อเลือกสเปคหลังคาเรียบร้อยแล้ว เจ้าของบ้านสามารถมอบหน้าที่การติดตั้งหลังคาให้กับผู้รับเหมาได้เลยครับ แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ เจ้าของบ้านส่วนหนึ่งทำการบ้านในการคัดสรรผู้รับเหมาค่อนข้างน้อย ทำให้เจอกับผู้รับเหมาที่ขาดประสบการณ์และพบเจอปัญหาในกระบวนการติดตั้ง เช่น สเปคเมทัลชีท ไม่สัมพันธ์กับระยะแป , ช่างติดตั้งไม่ถูกวิธี, ติดตั้งหลังคาแอ่นตกท้องช้าง หรือแม้แต่ปัญหาที่เล็ก ๆ ที่เกิดจากการไม่ทำความสะอาดหลังคาเมื่อติดตั้งเสร็จ แต่ผลที่ได้กลับกลายเป็นต้นเหตุของปัญหาบานปลายในระยะยาว

วิธีการป้องกันได้ดีระดับหนึ่งคือการแยกส่วนในการจ้างงาน เช่น ให้ผู้รับเหมาดูแลงานโครงสร้างบ้าน ดูแลส่วนอื่น ๆ แต่ส่วนหลังคาให้เจ้าของบ้านจ้างแยก โดยว่าจ้างแบรนด์ผู้ผลิตหลังคาเมทัลชีทโดยตรง ซึ่งจะได้ช่างฝีมือดีที่มีประสบการณ์และผ่านการอบรมงานหลังคามาโดยเฉพาะ โดยปกติแล้วทางผู้ติดตั้งจะตรวจเช็คแบบโครงสร้างหลังคาจากแบบบ้านให้เจ้าของบ้านอีกครั้ง เพื่อตรวจสอบความเหมาะสม เป็นอีกกระบวนการที่ช่วยให้เกิดความแม่นยำยิ่งขึ้นครับ

6. แถมอีกข้อ แผ่นหลังคาต้องต่อเนื่องตลอดทั้งผืน

คุณสมบัติเด่นของเมทัลชีท คือ สามารถป้องกันปัญหารั่วซึมได้ดีกว่าวัสดุหลังคาทุก ๆ ประเภท เหตุผลที่ป้องกันการรั่วซึมได้ดีเนื่องด้วยเมทัลชีทสามารถผลิตให้แผ่นหลังคายาวต่อเนื่องตลอดทั้งผืนได้ ดังนั้น จึงต้องระมัดระวัง กรณีผู้รับเหมาซื้อเมทัลชีทแบบไม่เต็มแผ่นและใช้วิธีการต่อ เพราะรอยต่อเหล่านี้เป็นต้นเหตุของการรั่วซึม ให้เจ้าของบ้านกำหนดสเปคเมทัลชีทแบบยาวต่อเนื่องตลอดผืนเท่านั้น มิเช่นนั้นคุณสมบัติเด่นของเมทัลชีทจะหายไปทันที

ขอบคุณที่มา : https://www.banidea.com/how-to-choose-metalsheet/

1. ความหนาของเมทัลชีทกับการใช้งาน

เมทัลชีทเป็นหนึ่งในวัสดุก่อสร้างที่มีความหนาให้เลือกหลากหลาย เนื่องจากความหนาแต่ละระดับจะเหมาะกับลักษณะการใช้งานที่แตกต่างกันไป ยิ่งไปกว่านั้นความหนาที่เพิ่มขึ้นยังหมายถึงความแข็งแรงและการป้องกันเสียงที่เพิ่มขึ้นตามไปด้วย ทว่ามีสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือ ความหนาของเมทัลชีทมีผลต่อการออกแบบ การรับน้ำหนักของโครงสร้าง และความแข็งแรงของอาคารโดยตรง หากเลือกเมทัลชีทที่มีความหนาที่เหมาะสมกับการใช้งานและโครงสร้างของบ้าน ก็จะช่วยให้การก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ แข็งแรง และช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็น เช่น การซ่อมบำรุงเพราะเลือกความหนาผิดประเภทลงไปได้มากทีเดียว โดยตัวอย่างความหนาที่เหมาะสมกับลักษณะการใช้งาน มีดังนี้

  • ความหนา 0.23-0.28 มิลลิเมตร : เหมาะกับงานหลังคาขนาดเล็ก เช่น ที่พักอาศัยชั่วคราว
  • ความหนา 0.30-0.35 มิลลิเมตร : เหมาะกับงานหลังคาและผนังขนาดเล็กที่มีระยะแปไม่เกิน 1.2 เมตร เช่น บ้านพักอาศัย ส่วนต่อเติม โรงจอดรถ และกันสาด
  • ความหนา 0.35-0.40 มิลลิเมตร : เหมาะกับงานหลังคาขนาดกลางและงานผนังทั่วไป เช่น โรงงานอุตสาหกรรมขนาดเล็กหรือโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลาง
  • ความหนา 0.40-0.47 มิลลิเมตร : เหมาะกับงานหลังคาขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ที่มีระยะแปไม่เกิน 1.5 เมตร เช่น โรงงานหรืออาคารขนาดกลางที่ต้องการการก่อสร้างคุณภาพสูง
  • ความหนา 0.47 มิลลิเมตรขึ้นไป : เหมาะกับงานหลังคาขนาดใหญ่ที่มีระยะแปถึง 2.5 เมตร เช่น โรงงานหรืออาคารขนาดใหญ่

เอาล่ะ มาถึงตอนนี้ทุกคนคงสังเกตเห็นแล้วว่า ยิ่งสิ่งก่อสร้างมีขนาดใหญ่มากขึ้นเท่าไร ความหนาของเมทัลชีทก็ควรต้องเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ทว่านอกเหนือจากขนาดของสิ่งก่อสร้างแล้ว อย่าลืมพิจารณารูปลอนและระยะแปควบคู่กันไปด้วยนะ

2. การเลือกสีหลังคาให้เหมาะกับสไตล์ของบ้าน

นอกจากความหนาแล้ว เมทัลชีทยังมีพื้นผิวให้เลือกมากมาย เช่น พื้นผิวสะท้อนความร้อน พื้นผิวลายธรรมชาติ และพื้นผิวประกายมุก ตามมาด้วยสีสันที่หลากหลาย ทั้งแบบพื้นฐานและแบบพิเศษ จนทำให้หลายคนเกิดความสับสนและตัดสินใจไม่ถูก ถ้าอย่างนั้นเราลองมาเช็กตัวอย่างการมิกซ์ แอนด์ แมตช์ สีหลังคาให้เข้ากับสีตัวบ้านหรือสไตล์ของบ้านแบบคร่าวๆ กันไว้ก่อน

  • โมเดิร์น (Modern) : เป็นสไตล์ที่สมาร์ตและทันสมัย โครงสร้างบ้านเป็นทรงสี่เหลี่ยม ตกแต่งเรียบง่าย เน้นหน้าต่างบานใหญ่ไว้เปิดรับแสงจากธรรมชาติ จึงเหมาะกับสีกลาง ๆ หรือสีโทนเย็น ไม่ฉูดฉาด
  • ทรอปิคอล (Tropical) : เป็นสไตล์ที่อบอุ่น มีความเป็นธรรมชาติ ตัวบ้านมักสร้างจากไม้หรือเหล็กผสมไม้ จึงเหมาะกับสีเอิร์ธโทน
  • มินิมอล (Minimal) : เป็นสไตล์ที่เรียบง่าย สะอาด มีคอนเซ็ปต์น้อยแต่มาก ตัวบ้านมักเน้นโทนสีสว่าง จึงเหมาะกับสีขาว
  • อินดัสเทรีล (Industrial) : เป็นสไตล์ที่ดิบ เก๋ เท่ ชิค ตัวบ้านมักตกแต่งด้วยโครงเหล็ก ปูนเปลือย หรือผนังสีเข้ม เหมาะกับหลังคาที่มีสีสันสดใสตัดกัน
3. เมทัลชีทเคลือบสีดีกว่าไม่เคลือบอย่างไร

เนื่องจากเมทัลชีทเคลือบสีต้องผ่านการเคลือบทั้งสังกะสี-อะลูมิเนียม สารปรับสภาพผิว และสีรองพื้นชนิดพิเศษ ก่อนจะนำไปเคลือบสีจริงที่มีคุณภาพสูง ดังนั้นจึงถือเป็นวัสดุก่อสร้างที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันสนิม ป้องกันการกัดกร่อน และมีความเชื่อมต่อระหว่างเนื้อเหล็กและเนื้อสีสูงมากกว่าปกติหลายเท่า จนทำให้เมทัลชีทเคลือบสีมีสีสันสวยงามสดใส สามารถนำไปตกแต่งบ้านได้หลากหลาย อีกทั้งยังมีอายุการใช้งานนานขึ้น มีความแข็งแรงทนทานมากขึ้น เมื่อเทียบกับเมทัลชีทไม่เคลือบสีนั่นเอง

4. เลือกที่มี มอก. รับประกัน

สัญลักษณ์ มอก. หรือมาตรฐานอุตสาหกรรม เป็นเครื่องหมายที่ช่วยรับประกันว่า เมทัลชีททุกแผ่นผ่านการตรวจสอบแล้วว่าได้มาตรฐาน ซึ่งเจ้าของบ้านต้องสังเกตและพิจารณาให้ดีก่อนตัดสินใจซื้อทุกครั้ง เพราะถ้าหากซื้อเมทัลชีทที่ไม่มี มอก. อาจทำให้ได้หลังคาหรือผนังที่ไม่มีคุณภาพ ไม่แข็งแรง ไม่ทนทาน และไม่คุ้มค่ากับเงินที่เสียไป ซึ่งจะแตกต่างจากเมทัลชีทที่มี มอก. ที่สามารถมั่นใจได้ว่าทุกแผ่นผ่านการตรวจสอบมาแล้วว่า มีความหนาตามที่ระบุไว้จริง อีกทั้งยังได้รับการทดสอบเรื่องการกระแทกและการยึดเกาะของสี ทำให้มั่นใจได้ในคุณภาพ ความแข็งแรง ความทนทาน ใช้งานได้นาน แถมเนื้อสีไม่หลุดล่อน ไม่ซีดจาง และไม่เป็นรอยง่ายด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก : https://home.kapook.com/view219087.html

แผ่นเหล็กรีดลอน หรือ Metal Sheet ที่ใช้กันทั่วไปในประเทศไทย มีอยู่ 2 ชนิด คือ

  1. แผ่นเหล็กอาบสังกะสีเคลือบสี ได้จากการนำแผ่นเหล็กมาอาบสังกะสีแล้วเคลือบสีอีกทีหนึ่ง (Precoated Galvanized Steel Sheet)
  2. แผ่นเหล็กเคลือบอลูซิงค์ ได้จากการนำแผ่นเหล็กมาอาบอลูมิเนียมและสังกะสี

ซึ่งทำให้ได้ แผ่นเหล็กที่ทนต่อสภาพอากาศและทนต่อการกัดกร่อน แล้วนำมารีดขึ้นรูปเป็นลอน ใช้เป็นวัสดุสำหรับมุงหลังคา ทำฝ้าและผนัง ซึ่งจะมีข้อดีหลายอย่างเมื่อเทียบกับหลังคากระเบื้องทั่วไป

ข้อดีของการใช้วัสดุมุงหลังคา Metal sheet คือการที่มี น้ำหนักที่เบา ดังนั้น จึงสามารถประหยัดในเรื่องของโครงสร้างของหลังคาได้ และที่สำคัญคือสามารถทำการมุงได้รวดเร็ว อีกทั้งยังมุงหลังคาที่มี รูปร่างโค้งงอได้ดีอีกด้วย และเนื่องจากแผ่นของ Metal Sheet นั้น เวลามุงจะเป็นแผ่นยาว จึงมีรอยต่อน้อยมาก มีการรั่วซึมที่น้อยกว่าหลังคากระเบื้อง

หลังคาเมทัลชีท (Metal Sheet) เป็น หลังคาที่ทำมาจากเหล็กที่มีความแข็งแรง โดยถูกนำมารีดเป็นแผ่นๆ ซึ่งมีทั้งแบบสำเร็จรูป และแบบสั่งผลิตตามที่กำหนด โดยตัวหลังคาเมทัลชีทนั้นจะมีการเคลือบสาร Zincalume ซึ่งช่วยป้องกันการเกิดสนิม เป็นหลังคาที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นอย่างมาก และมีสีสันให้เลือกมากมาย หลังคาเมทัลชีท นิยมนำมาทำหลังคาโรงงาน โกดังเก็บสินค้า หลังคาบ้านพักอาศัย

ข้อดีของหลังคาเมทัลชีท
  • คงทนแข็งแรง เนื่องจากหลังคาเมทัลชีทผลิตมาจากโลหะ High Tensile Steel ซึ่งมีความแข็งแรงสูงมาก หมดห่วงเรื่องหลังคาแตกหัก
  • สร้างได้ง่ายใช้เวลาน้อย โดยไม่ต้องมาปูทีละแผ่นเล็กๆเหมือนกระเบื้อง สามารถรีดเป็นขนาดที่ต้องการได้เลย ติดตั้งง่าย
  • ป้องกันการรั่วซึมได้ดี เนื่องจากหลังคาเมทัลชีทนั้นมีรอยต่อระหว่างแผ่นน้อยมาก จึงไม่ค่อยจะมีจุดให้น้ำไหลลงมาได้
  • ลดค่าใช้จ่ายของโครงหลังคา เนื่องมาจากหลังคาเมทัลชีทนั้นเป้นแผ่นเหล็กบางๆ ทำให้มีน้ำหนักน้อย จึงไม่ต้องทำโครงหลังคาแข็งแรงมากนัก หากเทียบกับโครงหลังคาที่ต้องปูด้วยกระเบื้องแล้ว จะสามารถประหยัดค่าใช้จ่ายไปได้ประมาณ 20-25 % เลยทีเดียว
  • ดัดแปลงหลังคาเป็นรูปโค้งได้
  • อายุการใช้งานยาวนาน 10 ปีขึ้นไป โดยไม่ต้องซ่อมแซม

ขอบคุณที่มา : http://www.greenwaysteel.co.th/metalsheet.html

หลังคาบ้านมีวัสดุหลายอย่างที่นำมามุงหลังคาให้สวยงามคงทนได้ บ้านแต่ละหลังก็สร้างออกมาจากความต้องการของเจ้าของบ้านโดยจะต้องมีทั้งความสวยงามและความแข็งแรงอยู่ด้วยกัน สำหรับบทความนี้เราจะพามาทำความเข้าใจกับเมทัลชีท (Matal Sheet )ที่นิยมใช้มาเป็นหลังคาบ้านกัน โดยจะเริ่มรู้จักกันตั้งแต่ว่าเมทัลชีททำมาจากอะไร ใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง ข้อดี ข้อเสีย และอื่น ๆ บทความนี้จะรวมไว้ให้ทุกท่านได้อ่านอย่างละเอียดทุกอย่างเกี่ยวกับเมทัลชีลเลย

เมทัลชีทเป็นคำที่มีความหมาย 2 คำมารวมกัน ซึ่งคำว่า Metal แปลว่า โลหะ และคำว่า Sheet มีความหมายว่า แผ่น จึงรวมกันง่าย ๆ เลยคือคำว่า เมทัลชีท แปลว่า “แผ่นโลหะ” นั่นเอง แต่ว่าในทางงานเกี่ยวกับการสร้างบ้านการทำหลังคาเราจะรู้จักกันดีในความเป็นแผ่นกรีดรอนที่ทำมาจากโลหะเป็นขนาดบางหน้าที่หลักเพื่อใช้ในการมุงหลังคาบ้าน แต่มันก็มีความหมายอย่างอื่นด้วยหากหน้าที่ของมันต่างออกไปจากการสร้างบ้าน

โดยจะแบ่งออกเป็นการขึ้นรูป 2 ชนิดคือ แผ่นเคลือบสี และ เคลือบอลูซิงค์โดยทั้งสองแบบนี้มีการรีดออกมาเป็นแผ่นบาง ๆ รีดลอนที่แตกต่างกันออกไปดังนี้

  1. เมทัลชีทแบบเคลือบสี ตัวนี้ก็ต้องผ่านการเคลือบ Aluzincเหมือนกันก่อนที่จะนำมาทำสีออกมาให้เป็นแผ่นเมทัลชีทที่มีความสวยงามตามขั้นตอนต่อไป การเคลือบสีนั้นมีอยู่ 3 วิธีคื
    1.1. เคลือบ PZACS เป็นการเคลือบสีแบบที่ไม่มีการรองพื้น
    1.2. เคลือบ PRIMA เป็นการเคลือบแบบมีรองพื้น 1 ชั้น หนาขึ้นมาอีหน่อย
    1.3. เคลือบ CLEAN COLOR BOND โดยมี 2 ชั้นด้วยกันจะหนาที่สุดแล้ว หนาประมาณ 12 – 25 ไมครอนเลย ยิ่งหนายิ่งทำให้มีความแข็งแรงทนทานมากยิ่งขึ้น
  2. เมทัลชีทแบบเคลือบอลูซิงค์ เป็นการนำแผ่นเหล็กมาทำการเคลือบสังกะสี (Zn) จากเคลือบเข้ากับอลูมิเนียมอีกทีเพื่อเป็นการทำให้มันไม่พังง่าย หรือไม่เกิดเป็นสนิม จะมีความเงางามมีกว่าแบบแรก

ทั้งสองอย่างนี้เป็นกระบวนการก่อนที่จะนำเอาแผ่นเหล็กไปทำการรีดเพราะหากไม่เคลือบอะไรเลยก็ทำให้เหล็กนั้นเป็นสนิมและเปราะยางได้ง่ายมาก มันเป็นการสร้างความแข็งแรงให้กับเหล็กเมทัลชีทนั่นเอง

วิธีการเลือกเหล็กเมทัลชีทให้เหมาะสมกับการใช้งาน
  • เหล็กเมทัลชีทหนาที่ 0.30 mm (BMT) เป็นเหล็กที่เหมาะสำหรับการใช้กับการมุงหลักคาที่มีขนาดไม่ใหญ่ เป็นการมุงผนัง ในพื้นที่เล็ก ๆ เน้นการประหยัด เช่น การนำไปมุงหลังคาที่จอดรถ ทำเป็นกันสาด โดยจะต้องมีระยะแปประมาณไม่เกิน 1.2 เมตรเท่านั้น
  • เหล็กเมทัชชีทหนาที่ 0.35 – 0.40 (BMT) ตัวนี้จะเหมาะกับการนำไปใช้ในงานมุงหลังคาอาคารที่เป็นขนาดปานกลาง งานปูผนังแบบทั่วไป ไม่เล็กไม่ใหญ่กำลังพอดี
  • เหล็กเมทัลชีทหนา 0.42 (BMT) ตัวนี้จะเหมาะกับการมุงหลังคาบ้านแบบมาตรฐานเลย งานที่ต้องใช้ความละเอียดเน้นคุณภาพงานสูงมาก บ้านที่มีขนาดกลางถึงใหญ่ใช้แผ่นมุงหลังคาเมทัลชีทหนาระดับนี้ได้เลย โดยระยะแปจะได้ถึง 1.5 เมตรเลยแต่อยู่ที่ลักษณะรูปของแผ่นหลังคาเมทัลชีทประกอบกันด้วย
  • เหล็กเมทัลชีทหน้า 0.48 (BMT)สำหรับความหนาระดับนี้เน้นที่งานการมุงหลังคาบ้านที่เน้นความแข็งแรงเป็นพิเศษ และต้องมีความกว้างมากด้วยโดยได้ถึง 2.5 เมตรเลย
ข้อดีของการใช้แผ่นเมทัลชีทมุงหลังคา
  • น้ำหนักแผ่นเมทัลชีทเบา
  • สามารถซื้อได้ในราคาประหยัดเมื่อเทียบกับการใช้กับโครงสร้างหลังคา หากซื้ออยู่ที่โรงรีดจะถูกมากอยู่ที่พันกว่าบาทเท่านั้น แต่ก็ต้องดูความหนาและส่วนประกอบอื่น ๆ ด้วย
  • ทำให้มุงหลังคาบ้านได้รวดเร็วและปลอดภัย
  • ไม่เป็นอันตรายต่อร่างกายและสุขภาพผู้ใช้
  • กันฝนได้ดีรอยต่อละเอียดน้ำไม่รั่วซึม
  • มีหลายสีให้เลือก
  • อายุการใช้งานนานถึง 15 ปี
ข้อเสียของการใช้แผ่นเมทัลชีทมุงหลังคา
  • ราคาแพงมากยิ่งตัวที่มีความหนาและแข็งแรงจะยิ่งแพง
  • กันเสียงฝนตกหนักไม่ค่อยได้หากเทียบกับกระเบื้องคอนกรีต แต่ก็ติดฉนวนกันความร้อนและกันเสียงได้
  • การระบายน้ำขึ้นอยู่กับความเอียงของตัวหลังคาบ้าน

ทุกอย่างมีทั้งข้อดีและข้อเสียในการใช้งานแต่สำหรับแผ่นเมทัลชีทกับการมุงหลังคาบ้านนี้เมื่อคิดถึงประโยชน์การใช้งานแล้ว อาจจะแพงหน่อยแต่ก็คุ้มค่ามากเมื่อคิดถึงประโยชน์ในระยะยาว

สำหรับใครที่กำลังเลือกใช้กับบ้านของตัวเองก็ให้เข้าไปเลือกซื้อมาให้ถูกประเภทและดูความเหมาะสมของงบประมาณและตัวบ้านประกอบกัน แต่แน่นอนว่าไม่มีผิดหวังคุณจะได้บ้านที่เย็นสบายแน่นอนเมื่อมุงหลังคาด้วยเมทัลชีท

ขอบคุณที่มา : https://www.sacsteelwork.com/4529/